|

  
 |
|
ในพื้นที่หมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้าน อาศัยการเดินทางด้วยเท้าเป็นหลักจะใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ได้เป็นบางแห่งในฤดูแล้งเท่านั้น การขนส่งต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลกับการพัฒนาด้านการเมือง สภาพสังคมและเศรษฐกิจของราษฎรเป็นไปอย่างเชื่องช้า สภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาจึงยากจน จึงมีการสร้างทางลำลอง โดยใช้แรงงานชาวบ้าน ขุดเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านหลัก และกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน เพื่อให้การติดต่อระหว่างหมู่บ้านต่างๆ และการส่งผลผลิตออกสู่ตลาด แต่ไม่สามารถดำเนินได้ทั่วถึง ทุกหมู่บ้านเพราะพื้นที่บางส่วน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และป่าอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เส้นทางหลักที่ใช้สัญจรในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น คือ ถนนสายบ้านหนองหลวง ตำบลสามหมื่น - บ้านห้วยพระเจ้า - บ้านห้วยมะขาม - บ้านคำหวัน - บ้านแพะ - บ้านห้วยมะพร้าว แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก |
|
|

  
 |
|
ทรัพยากรดิน |
พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลแม่ตื่น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ตื่น ป่าสามหมื่น ทำให้ราษฎรไม่สามารถมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์น้อยมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย ดินร่วนอยู่บริเวณสอบข้างฝั่งลำห้วย พื้นที่เป็นพื้นที่ราบสูงในบริเวณหุบเขา จะพบว่าเป็นดินลูกรังหรือหินก้อนใหญ่ |
ทรัพยากรน้ำ |
มีแม่น้ำแม่ตื่นไหลผ่าน พื้นที่ หมู่ที่ 3, 5, 11 และหมู่ที่ ๑๒ เป็นแม่น้ำสายหลักของตำบล ประกอบกับมีลำห้วยที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น ห้วยหมาบ้า, ห้วยมะพร้าว, ห้วยกระทิง, ห้วยมะขาม, ห้วยพระเจ้า, ห้วยแสม, ห้วยโป่ง และห้วยน้ำเย็น |
ทรัพยากรป่าไม้ |
ตำบลแม่ตื่นมีพื้นที่ป่าไม้ตามภูเขาและที่สูง ที่สำคัญได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ตื่น ป่าสามหมื่น เป็นป่าประเภทป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ไม้ที่พบส่วนใหญ่ เป็นพวกไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง และไม้กระยาเลย สัตว์ป่าที่พบ เช่นเก้ง หมูป่า เลียงผา ช้างป่า แต่เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ของป่าที่พบ เช่น น้ำผึ้ง หน่อไม้ เปลือกไม้ แร่ธาตุ มีพบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก |
|